"ตวล เสลง" ขุมนรกในยุคเขมรแดง

 "ตวล เสลง" ขุมนรกในยุคเขมรแดง


พิพิธภัณฑ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตวลสเลง (Tuol Sleng Genocide Museum) ตั้งอยู่ในเมืองพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์สำคัญที่บอกเล่าถึงอดีตอันเจ็บปวดของประเทศกัมพูชา ในอดีตที่แห่งนี้เคยเป็นคุกสมัยที่เขมรแดงครองกัมพูชา ใช้เป็นที่กักขังและขู่เข็ญคนที่คิดว่ากบฏต่อประเทศ โดยมีใช้เครื่องทารุณหลายชนิดไว้สำหรับทรมานให้ผู้ถูกคุมขังสารภาพ


"ตวล สเลง" เป็นชื่อของคุกสมัยที่เขมรแดงครองประเทศ ดั้งเดิมคุกนั้นเป็นโรงเรียนมาก่อน ตวล สเลง มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า s-21 (Security Office 21) ใช้กักขังและขู่เข็ญคนที่คิดว่าเป็นศัตรู หรือเป็นกบฏต่อประเทศชาติและรัฐบาล ทุกภูมิภาค ทุกระดับชั้น รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ผู้ถูกคุมขังสารภาพผิด และลงท้ายด้วยการฆ่า จุดหมายปลายทางของนักโทษทุกคนในนี้ ทางเดียวที่จะออกไปจากคุกแห่งนี้คือ การสิ้นลมหายใจ แต่กว่าที่จะถึงเวลาได้ออกไปนั้นต้องเผชิญกับการกระทำที่ทารุณ โดยเหล่าบรรดานักโทษจะถูกทรมานด้วยวิธีการต่างๆ นาๆ  

คุกตวลสเลง แต่เดิมเป็นโรงเรียนมัธยม มีตึกเรียน 4 ชั้น 4 อาคาร ซึ่งถ้าดูจากภายนอกตอนนี้ก็เหมือนกับโรงเรียนธรรมดา เพราะยังมีโครงสร้างเป็นโรงเรียน บนพื้นที่ประมาณ 10 กว่าไร่ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1976 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2519 เขมรแดงได้เปลี่ยนโรงเรียนแห่งนี้เป็น S-21 หรือ Tuol Sleng ชื่อ S-21  ย่อมาจาก Security Office 21 วัตถุประสงค์คือใช้เป็นสถานที่รีดไถคำสารภาพโดยใช้วิธีใดก็แล้วแต่ และพอรีดไถสำเร็จแล้วก็เอาไปฆ่า หรือจัดการกับผู้ทำผิดก้าวแรกจะเป็นหลุมฝังศพของผู้เสียชีวิต 14 ศพ เชื่อกันว่าเวลาไม่กี่ปีในช่วง 1975 – 1979 มีผู้ที่เสียชีวิตในสถานที่แห่งนี้ไม่ต่ำกว่าหมื่นคน 

 


จำนวนนักโทษที่ถูกขังในคุกตวล สเลง แห่งนี้ พ.ศ. 2518 จำนวน 154 คน ,พ.ศ. 2519 จำนวน 2250 คน , พ.ศ. 2520 จำนวน 2350 คน , พ.ศ. 2521 จำนวน 5765 คน นักโทษตัวเลขเหล่านี้ไม่รวมถึงจำนวนของเด็กที่ถูกฆ่าโดยเขมรแดงซึ่งเป็นที่คาดว่าจะเกิน 20,000 คน ในระยะเวลาของการจำคุกอยู่ในช่วง 2-4 เดือน

แต่สำหรับบางคน "นักโทษการเมือง" การทรมานอาจอยู่ระหว่างหกและเจ็ดเดือน ตลอดระยะเวลาดังกล่าวมีชาวกัมพูชาเสียชีวิตมากกว่า 2 ล้านคน จากความอดอยากและการใช้แรงงานหนัก หรือถูกสังหารโหดฐาน ที่เป็นศัตรูของรัฐ บริเวณโดยรอบคือสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่บอกเล่าเรื่องราวอันเจ็บปวดในอดีต เหตุการณ์ทั้งหมดเป็นระยะเวลาเกือบ 5 ปี ความทรมานของคุกแห่งนี้ถึงได้จบลง จากจำนวนนักโทษที่ถูกนำตัวเข้าไปคุมขังและทรมานในคุก มีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่มีโอกาสรอดชีวิตออกมาได้ หนึ่งในนั้นคือ นายวัน นัธ ซึ่งเขารอดชีวิตมาได้เพราะวาดภาพชวนเชื่อให้นายพอล พต ผู้นำเขมรแดง


คุกตวลสเลงจะมีกฎระเบียบอยู่ 10 ข้อ มีรายละเอียดดังนี้

    1. คุณต้องตอบคำถามของเราทุกคำถาม ห้ามเสแสร้งและห้ามปฏิเสธ

    2. ห้ามโกหก ห้ามปฏิเสธ และห้ามเถียงเรา

    3. อย่างี่เง่าและอย่าทำตัวโง่ๆ เพราะคุณเป็นคนโง่ที่พยายามต่อต้านพวกเรา

    4. เมื่อถูกถามต้องตอบทันที อย่าเสียเวลาคิด

    5. ห้ามพูดหรือแสดงความคิดเห็นที่ทำให้เกิดการต่อต้าน

    6. ระหว่างถูกลงโทษห้ามร้องไห้ และห้ามส่งเสียงแม้แต่นิดเดียว

    7. อยู่นิ่งๆ นั่งรอและคอยคำสั่ง ถ้าไม่มีคำสั่งให้อยู่เงียบๆ แต่เมื่อมีคำสั่งต้องทำทันทีโดยไม่มีข้อสงสัยและข้อประท้วง

    8. อย่าพยายามเสแสร้งเพื่อซ่อนความรู้สึกต่อต้านพวกเรา

    9. ถ้าไม่ทำตามกฎระเบียบทุกข้อเหล่านี้จะโดนช็อตด้วยไฟฟ้า

   10. ถ้าฝ่าฝืนข้อใดข้อหนึ่งจะถูกเฆี่ยนด้วยแส้ 10 ครั้ง หรือจะถูกช็อตด้วยไฟฟ้า 5 ครั้ง

การเดินทางจากสนามบินไปพิพิธภัณฑ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตวลสเลง
  • รถตุ๊กตุ๊ก ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางในเขตเมืองครั้งละประมาณ 2-4 ดอลลาร์สหรัฐ (USD) หรือเหมาเที่ยวทั้งวันประมาณ 20 ดอลลาร์สหรัฐ (USD)
  • รถแท็กซี่  เป็นอีกหนึ่งการเดินทางที่ได้รับความนิยมเนื่องจากสะดวกสบาย มีบริการมิเตอร์ค่าโดยสาร แต่บางส่วนนิยมใช้บริการแบบพาเหมาเที่ยวรอบเมืองหรือตลอดทั้งวัน

เวลาในการเปิด-ปิดทำการ

  • ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 17.00 น.

อัตราค่าบริการ

  • 6 ดอลลาร์สหรัฐ (USD)/คน (รวมค่าบริการ Audio guide ภาษาต่างๆ)

          ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตวลสเลง ใช้งบประมาณในการก่อสร้างราว 90,000 ดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 2.97 ล้านบาท ) โดยได้รับความอนุเคราะห์ด้านงบประมาณจากรัฐบาล เยอรมนี โดยทั้งสองประเทศมุ่งหวังร่วมกันว่า อนุสรณ์สถานแห่งนี้นอกจากเป็นสัญลักษณ์รำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นแล้ว จะเป็นเครื่องเตือนใจให้แก่ชนรุ่นหลังว่า กัมพูชาจะไม่หวนกลับคืนสู่ "ยุคมืด" เช่นนั้นอีก แม้ทุกวันนี้ตวลสเลงจะไม่ได้เป็นคุกอีกแล้ว แต่เพื่อเป็นการระลึกถึงผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นั้น รัฐบาลกัมพูชาในปัจจุบันจึงได้เปลี่ยนตวลเสลงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความโหดร้ายที่เกิดขึ้นไว้เป็นบทเรียนแก่คนรุ่นหลังต่อไป




อ้างอิง

พิพิธภัณฑ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตวลสเลง เมืองพนมเปญ : เที่ยวกัมพูชา. สืบค้นเมื่อ 16/09/2563 จาก https://www.sanookholidays.com/travel-info/tuil-sleng-genocide-museum/


พิพิธภัณฑ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตวลสเลง เมืองพนมเปญ ประเทศกัมพูชา สืบค้นเมื่อ 16/09/2563 จาก https://palanla.com/index.php?op=abroadLocation-detail&id=258
 
พิพิธภัณฑ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตวลสเลง เมืองพนมเปญ ประเทศกัมพูชา สืบค้นเมื่อ 16/09/2563 จาก https://www.sprtour.com/บันทึกทริป/0-84-พิพิธภัณฑ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตวลสเลงเมืองพนมเปญประเทศกัมพูชา

"ตวล สเลง" ย้อนรอยคุกที่ไม่มีประตูออก ในกรุงพนมเปญ! สืบค้นเมื่อ 16/09/2563 จาก https://www.sanook.com/horoscope/107849/

ความคิดเห็น