พระพิรุณ เทพแห่งสายฝน และ เทวดาประจำทิศตะวันตก |
น้ำ ถือเป็นต้นกำเนิดและเป็นสิ่งที่ช่วยหล่อเลี้ยงสรรพสิ่งบนโลกนี้ เราใช้ประโยชน์จากน้ำทั้งการอุปโภคและบริโภค อีกทั้งน้ำยังมีความสำคัญต่อชีวิตชาวนาชาวไร่เป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากเมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนชาวนาชาวไร่ต่างเริ่มการเพาะปลูกพืช ฉะนั้นจึงถือได้ว่าฤดูฝนนี้นับเป็นฤดูแห่งการเพาะปลูกก็ว่าได้ ดังนั้นชีวิตคนเราล้วนผูกพันกับน้ำเสมอมา ซึ่งในบทความนี้เราจะมาพูดถึง "พระพิรุณ เทพแห่งสายฝน" ผู้ประทานน้ำฝนมาหล่อเลี้ยงทุกชีวิตบนโลกใบนี้นั่นเอง
พระพิรุณ หรือที่เรารู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า พระวรุณ ซึ่งเป็นชื่อเรียกตามแบบคัมภีร์ไตรเภทของอินเดีย ประวัติความเป็นมาของพระพิรุณนั้นมีที่มาหลากหลายแตกต่างกัน บางตำนานกล่าวไว้ว่า พระพิรุณนั้นเป็นโอรสองค์โตของนางอทิติและพระยากัสยป ซึ่งพระพิรุณนี้มีนามเต็มว่า พระวรุณาทิตย์
แต่ตามคัมภีร์ของมหาภารตะได้กล่าวว่า พระพิรุณนั้นเป็นโอรสของฤาษีกรรทมพรหมบุตร ทำหน้าที่เป็นท้าวโลกบาล คอยดูแลรักษาโลกทางทิศตะวันตก และเป็นเทพแห่งสายฝน น้ำ และทะเล
นอกจากพระพิรุณแล้วยังมีเทวดาประจำทิศต่างๆอีกด้วย เช่น
1.พระอินทร์ เป็นเทวดาประจำทิศตะวันออก
2.พระอัคนี เป็นเทวดาประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้
นอกจากพระพิรุณแล้วยังมีเทวดาประจำทิศต่างๆอีกด้วย เช่น
1.พระอินทร์ เป็นเทวดาประจำทิศตะวันออก
2.พระอัคนี เป็นเทวดาประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้
3.พระยม เป็นเทวดาประจำทิศใต้
4.พระนิรฤติ เป็นเทวดาประจำทิศตะวันตกเฉียงใต้ 5.พระวรุณ เป็นเทวดาประจำทิศตะวันตก
6.พระพาย เป็นเทวดาประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
7.พระกุเวร เป็นเทวดาประจำทิศเหนือ
8.พระอีสาน เป็นเทวดาประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ในไทยเองก็มีคติความเชื่อเกี่ยวกับพระพิรุณเช่นกัน ชาวไทยเชื่อกันว่าพระพิรุณนี้อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเทพบริวารของพระอินทร์ ซึ่งเป็นเทพแห่งสภาพภูมิอากาศ และเมื่อพระอินทร์ต้องการทำให้ฝนตกลงมายังโลกมนุษย์ก็จะบัญชาให้พระพิรุณจัดการทำให้ฝนตก
พระพิรุณนอกจากจะเป็นเทพแห่งฝนที่คอยประทานน้ำลงมายังโลกมนุษย์แล้ว ยังเป็นเทพที่คอยรักษาความสงบสุขและเปี่ยมไปด้วยความเมตตา พระพิรุณทรงรักในความยุติธรรมเป็นอย่างยิ่งและไม่ชอบคนที่พูดจาเป็นเท็จ เชื่อว่าหากผู้ใดมีความซื่อสัตย์ มีศีลธรรรม พระพิรุณก็จะปรทานพรให้ชีวิตมีแต่ความสุข แต่หากผู้ใดพูดจาโป้ปดพระพิรุณก็จะทรงลงโทษ จนเป็นธรรมเนียมเมื่อมีการกล่าวคำมั่นสัญญาหรือดื่มน้ำสาบานต้องมีการกล่าวอ้างพระพิรุณให้มาเป็นพยานในสัญญาครั้งนี้ จนกลายมาเป็นประเพณี "การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา" อันศักดิ์ศิทธิ์ดังที่เราเห็นในปัจจุบัน
พระพิรุณนอกจากจะเป็นเทพแห่งฝนที่คอยประทานน้ำลงมายังโลกมนุษย์แล้ว ยังเป็นเทพที่คอยรักษาความสงบสุขและเปี่ยมไปด้วยความเมตตา พระพิรุณทรงรักในความยุติธรรมเป็นอย่างยิ่งและไม่ชอบคนที่พูดจาเป็นเท็จ เชื่อว่าหากผู้ใดมีความซื่อสัตย์ มีศีลธรรรม พระพิรุณก็จะปรทานพรให้ชีวิตมีแต่ความสุข แต่หากผู้ใดพูดจาโป้ปดพระพิรุณก็จะทรงลงโทษ จนเป็นธรรมเนียมเมื่อมีการกล่าวคำมั่นสัญญาหรือดื่มน้ำสาบานต้องมีการกล่าวอ้างพระพิรุณให้มาเป็นพยานในสัญญาครั้งนี้ จนกลายมาเป็นประเพณี "การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา" อันศักดิ์ศิทธิ์ดังที่เราเห็นในปัจจุบัน
พระพิรุณมีรูปลักษณ์ที่เป็นเพศชาย มีวรกายงดงาม มีลักษณะสีกายแตกต่างกันไปตามคติความเชื่อของแต่ละท้องที่ แต่เทวรูปที่ปรากฏส่วนมากแล้วมักเป็นสีขาว สีกายของพระพิรุณกล่าวไว้ 5 ลักษณะคือ
1. กายสีเมฆหมอกหรือสีเทา ทรงเครื่องประดับมุก
2. กายสีขาว ทรงเครื่องประดับสีเขียว
3. กายสีแดง (ตามความเชื่อของชาวธิเบต)
4. กายสีขาว ทรงเครื่องประดับมุก
5. กายสีขาว ทรงเครื่องประดับทอง
ลักษณะของพระพิรุณที่แสดงออกในทางศิลปะโดยส่วนมากมักจะเป็นงานประติมากรรม ดังเช่นการปั้นรูปพระพิรุณ 2 กร ที่พระหัตถ์ขวาจะถือพระแสงดาบ พระหัตถ์ซ้ายจะแสดงวรทมุทรา แต่ในบางแห่งก็มี 4 กร บ้างก็ว่า 6 กร ซึ่งในแต่ละพระหัตถ์นั้นก็จะถืออาวุธที่แตกต่างกัน เช่น บ่วงนาคราช อาโภค คันโท คันศร แก้วมณี หอยสังฆ์ ดอกบัว แตกต่างกันไปตามความเชื่อในแต่ละที่
รูปหล่อพระพิรุณ พระหัตถ์ซ้ายถือบ่วงนาคราช พระหัตถ์ขวาถือสังฆ์ ณ วังพญาไท |
พาหนะของพระพิรุณโดยส่วนมากแล้วจะเป็นในรูปแบบเป็นสัตว์ ซึ่งในงานศิลปะแบบขอมพระพิรุณจะทรงประทับหงส์ บางรูปก็ทรงประทับบนนาค 3 เศรียร หรือ 5 เศียร บางตำนานก็ว่ามีพาหนะเป็นมกร หรือเป็นจระเข้
ภาพจิตรกรรม พระพิรุณทรงมกร |
ภาพพระพิรุณเทวดาประจำทิศตะวันตก ประทับบนนาค 5 เศียร บนทับหลัง ปราสาทหินพระนมรุ้ง |
ภาพสลักพระพิรุณกับหงส์ |
ภาพแกะสลักพระพิรุณทรงหงส์ บนทับหลังของปราสาทบันทายสรี |
ส่วนคติความเชื่อของคนไทยนั้นได้เชื่อมโยงพระพิรุณผู้ซึ่งเป็นเทพแห่งฝนเข้าไว้กับพญานาค ซึ่งเป็นสัตว์ในหิมพานต์และยังเป็นสัญลักษณ์แห่งน้ำอีกด้วย เรามักจะพบเห็นตราสัญลักษณ์รูปพระพิรุณทรงนาคตามหน่วยงานที่เกี่ยวกับการเกษตร เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือ ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยสัญลักษณ์พระพิรุณทรงนาคที่เราพบเห็นกันในไทยนี้มีความหมายที่ซื่อถึงความอุดมสมบูรณ์
พระพิรุณทรงนาค ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
นอกจากนี้แล้วเรายังสามรถพบเห็นงานศิลปะพระพิรุณทรงนาคในแบบรูปปั้น หรือรูปหล่ออีกด้วย
รูปปั้นพระพิรุณทรงนาค ลานพระพิรุณทรงนาค มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
รูปหล่อพระพิรุณทรงนาค |
โดยสรุปแล้วพระพิรุณมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามคติความเชื่อในแต่ละพื้นที่ ทั้งรูปลักษณ์วรกาย อาวุธประจำตัว และพาหนะ แต่ทุกความเชื่อนั้นล้วนเชื่อมโยงพระพิรุณเข้ากับน้ำเหมือนกัน จึงถือได้ว่าพระพิรุณนั้นเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และยังข้องเกี่ยวกับการเกษตรกรรมอีกด้วย
อ้างอิง
Krishna Bern Boonchuay. (2018). พระวรุณ เทพเจ้าผู้บัญชาธรรมชาติในฤคเวท. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกาย 2018 จากhttps://vivaranastory.wordpress.com/พระวรุณ-เทพเจ้าผู้ บัญชา/
บาราย. (2554). พระวรุณ. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกาย 2018 จากhttps://www.thairath.co.th/content/212768
พีระ อารีศรีสม. (2553). ตำนานพระพิรุณ. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกาย 2018 จากhttp://www.vtat.or.th/index1.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=7
ขจิต ฝอยทอง. (2007). ฝนตก....มาดูประวัติพระพิรุณดีกว่า... สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกาย 2018 จาก https://www.gotoknow.org/posts/134817
ประจักษ์ ประภาพิทยากร. (ม.ป.ป.). ความเป็นมาของพระพิรุณ. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกาย 2018 จากhttp://www.silpathai.net/ความเป็นมาของพระพิรุณ/
เทวัญ นันทวงศ์ และ วลพักตร์ พิมลมาศ. การศึกษาพระพิรุณในแง่องค์ความรู้ด้านการเกษตร.รายงานวิจัย. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2553.
พิชญา สุ่มจินดา.(2555). ราวณะบุกยมโลกที่ปราสาทพิมาย. ฅ วราสารวิจิตรศิลป์. (3)1, 76
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น