พระธาตุหลวง ศูนย์รวมใจของชาวลาว



ประเทศลาว เป็นอีกหนึ่งประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกใต้ที่เต็มไปด้วยความงดงามทางธรรมชาติ และประเพณี วัฒนธรรมต่างๆที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชนชาติลาวยังเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทุกทิศทั่วโลกให้มาเยือนยังประเทศแห่งนี้ ประเทศลาวนั้นเต็มไปด้วยความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นวัดวาอาราม สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และโบราณสถานต่างๆให้นักท่องเที่ยวได้เลือกสรรชื่นชมกัน และสถานที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนยังประเทศลาวพลาดไม่ได้เลยนั่นก็คือ "พระธาตุหลวงเวียงจันทร์" ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์ศิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของประเทศลาว

 ที่มา: https://www.travelshelper.com/destinations/asia/laos/

พระธาตุหลวง หรือ พระเจดีย์โลกะจุฬามณี (ลาว: ທາດຫລວງ หรือ ลาว: ພຣະທາດຫລວງ) ถือเป็นอีกหนึ่งโบราณสถานเก่าแก่ทางด้านพระพุทธศาสนาอันสำคัญของประเทศลาว เป็นศูนย์รวมใจของประชาชนชาวลาวมีความหมายต่อจิตใจของประชาชนชาวลาวอย่างยิ่ง ชาวลาวให้ความสำคัญกับพระธาตุหลวงเป็นอย่างมากเนื่องจากความเชื่อที่ว่าภายในพระธาตุหลวงแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุของสมเด็จสัมสัมพุธเจ้านั่นเอง

พระธาตุหลวงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประตูชัย นครเวียงจันทร์ ประเทศลาว มีประวัติการก่อสร้างยาวนานนับพันปี ตามตำนานได้กล่าวถึงที่มาของการสร้างพระธาตุแห่งนี้ไว้ว่า มีพระภิกษุลาว 5 รูปที่ไปศึกษาพระปริยัติธรรมยังเมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดีย และได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้ามายังพระนครเวียงจันทน์ พระเจ้าจันทน์บุรีประสิทธิ์ศักดิ์ เจ้าเหนือหัวผู้ครองนครเวียงจันทน์องค์แรกในตอนนั้น จึงได้โปรดเกล้าให้สร้างอุโมงค์หินกว้าง 5 วา แผ่นหินหนา 2 วา ความสูงของอุโมงค์ 4 วา 3 ศอก ในช่วงปี พ.ศ. 238 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 

แต่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อว่าช่วงเวลาในการสร้างพระธาตุหลวงนั้นน่าจะอยู่ในสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชหลังจากที่ย้ายราชธานีจากเมืองหลวงพระบางมายังนครเวียงจันทน์ ใน พ.ศ.2109 ตามหลักฐานที่กล่าวถึงในจารึกธาตุหลวงหลักที่ 1

 ที่มา: https://pomacious.files.wordpress.com/2011/12/6475340755_9ebbd8d174_b.jpg

พระธาตุหลวง สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 
16 มี
รูปทรงแตกต่างไปจากพระธาตุองค์อื่นๆ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมในพระพุทธศาสนากับสถาปัตยกรรมของอาณาจักร ถือเป็นเจดีย์ที่มีลักษณะโดดเด่นที่สุดในอาณาจักรล้านช้างมาตั้งแต่สมัยของสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระธาตุหลวงได้ถูกบูรณะอยู่หลายครั้ง โดยรูปแบบที่เห็นในปัจจุบันนี้เป็นการบูรณะในช่วง พ.ศ. 2474-2476 ประกอบด้วยระเบียงคด มีเจดีย์บริวาร 30 องค์ตั้งบนฐานประทักษิณ ถัดขึ้นมาเป็นองค์ระฆังในผังสี่เหลี่ยมเล็กๆรองรับปลียอดที่ซ้อนชั้นลดหลั่น 4 ชั้น อยู่ในผังแปดเหลี่ยม ตัวองค์พระธาตุมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม มีความสูง 45 เมตร ทาด้วยสีทอง

ชาวลาวให้ความสำคัญกับพระธาตุหลวงเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากตราประจำแผ่นดิน หรือตามธนบัติของลาว

                       
           ธนบัติลาว                                                                       ตราประจำแผ่นดิน
                    
นอกจากนี้แล้วยังได้มีการจัดประเพณีบุญนมัสการพระธาตุหลวง ซึ่งถือเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณเพื่อเป็นการสักการะบูชาแด่พระธาตุหลวงนี้ ดยจัดขึ้นในวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือนพฤษจิกายน ของทุกปี ประชาชานทั้งชาวลาวและชาวต่างชาติจากทั่วสารทิศล้วนพากันมาทำบุญกันอย่างล้นหลาม กิจกรรมในช่วงเช้าจะเป็นการทำบุญตักบาตร ส่วนตอนกลางคืนมีการเวียนเทียนขอพรรอบองค์พระธาตุ ถือเป็นงานสำคัญอีกอย่างหนึ่งของประเทศลาว

ประเพณีนมัสการพระธาตุหลวง

พระธาตุหลวงเปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00 – 12.00 น. และ 13.00 – 16.00 น. สำหรับการเข้าชมในพระธาตุหลวงนั้นจะต้องซื้อบัตรเข้าชม  ราคาเพียง 5,000 กีบ หรือประมาณ 20 บาท เท่านั้น ซึ่งเป็นค่าเข้าชมสำหรับชาวต่างชาติ ส่วนค่าเข้าชมสำหรับคนลาวจะอยู่ที่  2,000 กีบ ส่วนการเดินทางไปยังพระธาตุหลวงนั้นก็มีให้เลือกหลากหลายวิธี หากเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวใช้เส้นทางถนนมิตรภาพ (2) เข้าหนองคาย วิ่งผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) หรือท่านใดต้องการเดินทางโดยรถประจำทางจะมีรถประจำทางวิ่งรถหว่างประเทศในเส้นทาง อุดรธานี – หนองคาย – เวียงจันทน์ และ ขอนแก่น – เวียงจันทน์ สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งประจำจังหวัด และอีกหนึ่งวิธีสำหรับใครที่ต้องการประหยัดเลาในการเดินทางโดยสามารถเดินทางโดยเครื่องบินซึ่งมี 3 สายการบินที่บินตรงกรุงเทพฯ – เวียงจันทน์ (ท่าอากาศยานนานาชาติวัดไต) ได้แก่ ลาวแอร์ไลน์ บางกอกแอร์เวย์ และ Air Asia 


ที่มา: https://www.threeland.com/tour-laos-discovery.htm

จากความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอันแรงกล้านำพาให้สร้างพระธาตุหลวงที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ อันเป็นที่เคารพศักการะและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวลาวตั้งแต่โบราณกาลจนก่อให้เกิดเป็นประเพณีวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาอย่างช้านาน  และด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานของพระธาตุหลวงแห่งนี้ทำให้ในทุกปีมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลไปสัมผัสวัฒนธรรม และลิ้มลองความงดงามของพระธาตุหลวงอยู่ไม่ขาดสาย


Talk to Palm

 อ้างอิง

ศักดิ์ชัย. (2556). ธาตุหลวง. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2561. จากhttp://art-in-sea.com/th/data/lao-art/lao-art/itemlist/category/157-that-luong.html

ภัทราพร. (2016). หาดูยากที่สุด!!! ลาวเผยภาพถ่าย พระธาตุหลวงเวียงจันทน์ ไขปริศนาเจดีย์โบราณ (มีภาพ+รายละเอียด). สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2561. จากhttp://www.tnews.co.th/contents/212920

เรารักหลวงพระบาง. (ม.ป.ป.). นครหลวงเวียงจันทร์. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2561. จากwww.louangprabang.net/content.asp?id=394

ธงชัย. (2554). พระธาตุหลวงเวียงจันทร์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง..."ส.ป.ป.ลาว". สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2561. จากhttp://www.komchadluek.net/news/lifestyle/91152

Wirat. (2009). พระธาตุหลวง หรือ พระเจดีย์โลกะจุฬามณี. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2561. จากhttp://2laos.blogspot.com/2009/12/blog-post_7759.html

MGR Online. (2559). ชาวเวียงจันทน์ร่วมงานนมัสการ “พระธาตุหลวง” ล้นหลาม. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2561. จากhttps://mgronline.com/local/detail/9590000114011


Crowne Plaza Vientiane. (ม.ป.ป.). เทศกาลงานบุญนมัสการพระธาตุหลวงในเวียงจันทน์ จุดท่องเที่ยวที่คุณต้องไปเยือน!. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2561. จากhttps://vientiane.crowneplaza.com/th/thatluang-festival-in-vientiane

Emagtravel. (ม.ป.ป.). รีวิวเที่ยวเวียงจันทน์ ไปเองง่าย ใช้งบไม่เยอะ. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2561. จากhttp://www.emagtravel.com/archive/vientiane-trip.html









ความคิดเห็น